เมนู

[412] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญ
ว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่า
เขาในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคล
นั้น.


ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ 6


[413] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มี
สติทุกเมื่อ
ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ 6 กล่าวคือ
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่
ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว)
จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่
ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท
กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษ
แล้ว ได้ยินเสียงที่ชอบใจด้วยหู สูดดมกลิ่นที่ชอบใจด้วยจมูก ลิ้มรส
ที่ชอบใจด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ชอบใจด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์
ที่ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด กายของ
บุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว
รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่
ไม่พยาบาท กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน
พ้นวิเศษดีแล้ว เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในรูปที่
ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉยดำรงดีอยู่แล้ว ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว

ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ใน
ธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน
พ้นวิเศษดีแล้ว เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็น
ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง
ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดม
กลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา บุคคลนั้นเป็นแต่เพียงเห็นในรูปที่เห็น
เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยิน เป็นแต่เพียงทราบในกลิ่นรสโผฎ-
ฐัพพะที่ทราบ เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่คิดในรูป
ที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ
ไม่ติดในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลส
อยู่ ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่
เกี่ยวข้อง ในเสียงที่ได้ยิน ในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ใน
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พระอรหันต์มีจักษุ
ปรากฏ ย่อมเห็นรูปด้วยจักษุ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษ

ดีแล้ว มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิต
พ้นวิเศษดีแล้ว มีจมูกปรากฏ ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มี
ฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรสด้วยลิ้น แต่
มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีใจปรากฏ
ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว
จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระอรหันต์ฝึก
คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวม
จักษุนั้น หูเป็นธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลีน ลิ้น
เป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็น
ธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์
พระอรหันต์ฝึกคุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความ
สำรวมใจนั้น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่เขาฝึกแล้วไปสู่ที่
ประชุม พระราชาทรงขึ้นพาหนะที่เขาฝึกแล้ว บุคคล
ผู้ฝึกฝนแล้วอดกลั้นถ้อยคำที่ล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐ
สุดในหมู่มนุษย์ ม้าอัสดร ม้าสินธพผู้อาชาไนย ช้าง
ใหญ่กุญชร ที่เขาฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคล
ผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น ใคร ๆ ไม่พึง
ไปถึงนิพพาน อันเป็นทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านั้น
เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนอันฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อม

ไปถึงได้ พระอรหันต์ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย เป็น
ผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ เป็นผู้บรรลุถึงแล้วซึ่งภูมิที่ฝึก
แล้ว1 พระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้ชนะแล้วในโลก ผู้ใด
อบรมอินทรีย์ทั้งหลาย ในโลกทั้งปวง ทั้งในภายใน
ทั้งในภายนอก ผู้นั้นฝึกดีแล้ว ทราบโลกนี้และปรโลก
แล้ว รอคอยอยู่ซึ่งกาลมรณะ.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา.
คำว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอด
นิตยกาล ตลอดกาลยั่งยืน ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ คือ
เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ 4 ประการ กล่าวคือ เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติ-
ปัฏฐานในกายก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนา
ทั้งหลายก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิตก็ชื่อว่ามีสติ
เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลายก็ชื่อว่ามีสติ ฯลฯ
บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
ทุกเมื่อ.

ว่าด้วยมานะ


[414] คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา...ในโลก ความว่า ไม่ยัง
มานะให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่าง
หนึ่งบ้าง ว่าเราเสมอเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา....
ในโลก.

1. อรหัตผล.